วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552

8 วินัยใหม่ เพิ่มเงินเก็บทั้งปี

คนที่มีฐานะมั่นคงไม่ได้หมายความว่าเป็นคนหาเงินได้เยอะ แต่กลับเป็นคนที่มีวินัยในการเก็บเงิน และไม่เสียเงินไปกับเรื่องจุกจิกจนทำให้เงินเก็บสูญไป ปีใหม่นี้ตั้งต้นเก็บเงินกันใหม่ดีกว่า

ประหยัด, เก็บเงิน, เพิ่มเงิน, ค่าใช้จ่าย, รวย, จน, การเงิน, เงิน



1. เคลียร์ให้จบสิ้นก่อน เป็น กฎทองของการเก็บเงินที่คุณควรจะเคลียร์หนี้สินที่ติดไว้กับบัตรเครดิตให้จบ ลงเสียก่อน เพราะแม้ว่าเครดิตการ์ดจะเป็นช่องทางจ่ายเงินที่สะดวกสบาย แต่ถ้าบิลที่เรียกเก็บทำให้การเงินของคุณไม่สมดุลกันระหว่างเดือน รับรองว่าคุณจะไม่มีเงินเหลือเก็บแน่นอน ทางแก้ก็คือ ค่อยๆ ผ่อนชำระหรือหาเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยถูกกว่า โปะทับไปก่อนที่ดอกเบี้ยบัตรเครดิตจะบานเป็นดอกเห็ด

2. ทำช้อปปิ้งลิสต์ คง ไม่มีสาวคนไหนจะมานั่งทำช้อปปิ้งลิสต์เวลาไปซื้อของ แต่คุณรู้ไหมว่าลิสต์นี้จะทำให้คุณประหยัดได้มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเวลาในการ ช้อปปิ้ง การซื้อของตรงวัตถุประสงค์ และกำหนดเงินในกระเป๋าได้ว่าจะต้องใช้จ่ายเท่าไรบ้างในการซื้อของครั้งนี้ จะได้งดซื้อของที่ไม่จำเป็นออกไป รวมทั้งกำหนดเลยว่าในหนึ่งเดือนจะต้องออกไปซื้อของกี่ครั้ง จะได้ประหยัดค่ารถไปในตัว

3. อย่าติดชื่อแบรนด์ แม้ คนดังจะใส่เสื้อผ้าแพงระยับอย่างไร แต่คุณไม่จำเป็นจะต้องซื้อแบรนด์ดังๆ อย่างพวกเขาก็ได้ เพียงคุณดูแฟชั่น และแต่งตัวให้เป็นก็เพียงพอแล้ว อย่าไปเสียเงินให้แบรนด์ต่างๆ จะต้องมานั่งกลุ้มใจเอง

4. ใช้พรสรรค์สร้างเงิน ไม่ ว่าคุณมีพรสวรรค์ทางด้านไหน ก็สามารถขุดขึ้นมาทำเงินได้แน่นอน บางคนนิยมถักตุ๊กตา ทำอาหาร ทำบล็อกเว็บไซต์ รับสอนหนังสือ และอื่นๆ อีกมากมาย คุณควรนำความสามารถเหล่านี้มาเป็นจุดขายในการสร้างเงิน เพิ่มรายได้พิเศษได้เดือนละหลายพันบาททีเดียว

5. ทำของใช้เองบ้าง ไม่ ต้องเสียเงินทองไปซื้อของ ลองใช้วิธี Do lf Your self ลองประดิษฐ์ของใช้ในบ้านเอา เช่น แท่นวางของ อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน นอกจากจะได้โชว์ฝีมือแล้ว ยังไม่เปลืองเงินอีกด้วย

6. วางแผนการท่องเที่ยว คุณ ทราบไหมว่า ถ้าจองตั๋วเครื่องบินหรือที่พักก่อนเทศกาลท่องเที่ยว ราคาจะถูกมากกว่าถึง 30% ให้คุณแพลนกิจกรรมท่องเที่ยวเอาไว้ทั้งปี และฉลาดในการจัดทริป เพราะเงินจะเหลือจนคุณช้อปปิ้งซื้อของฝากได้สบายๆ หรือพยายามหาตั๋วที่มีส่วนลด ราคาจะได้ไม่บานปลายเหมือนปีที่ผ่านมา

7. หัดปฏิเสธเสียบ้าง สาวสังคมทั้งหลายยิ่งช่วงปีใหม่ เรื่องกินเรื่องเที่ยวกระหน่ำเข้ามาแทบทุกวัน หัดปฏิเสธและเลือกไปเฉพาะบางงาน เพราะคุณต้องเสียค่าดริ๊งก์ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ฯลฯ รวมแล้วนำมาเป็นเงินเก็บหรือใช้หนี้ได้อย่างสบายๆ

8. ฉลาดเป็นสมาชิก คุณ เคยนับยอดไหมว่าเดือนหนึ่งคุณจะต้องเสียค่าสมาชิกยิม เคเบิลทีวี อินเทอร์เน็ตไร้สาย ฯลฯ เป็นจำนวนเท่าไร ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาระรายจ่ายจุดนี้ลงบ้าง เพราะคุณสามารถออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมแนวเดียวกันโดยเสียเงินน้อยกว่าได้

22 เคล็ด(ไม่)ลับ เก็บเงินได้มากขึ้น

1. ส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่ได้รับ จะมากจะน้อยให้นำไปฝากเข้าบัญชีธนาคารทุกๆ เดือน แล้วอย่าไปยุ่งกับบัญชีนั้นเด็ดขาด ถ้าจำเป็นต้องถอนเงินส่วนนี้ ให้ถือว่ากำลังกู้เงิน เวลาคืนต้องคืนทั้งต้นทั้งดอก


2. เก็บเหรียญทั้งหลายลงกระปุก เปิดอีกบัญชีสำหรับเงินหยอดกระปุก อย่าดูถูกการสะสมเงินเล็กเงินน้อย จากก้อนเล็กๆ เติบโตกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ในอนาคตได้เชียวนะ


3. เก็บเงินคืนที่ได้รับจากเรื่องต่างๆ เข้าบัญชีธนาคาร เช่น เงินคืนตามโปรโมชั่นการซื้อสินค้า เงินคืนเบี้ยประกัน รายได้เบี้ยใบ้รายทางต่างๆ ให้รวมเป็นบัญชีเดียว แล้วทำบัญชีไว้ คุณจะได้รู้ว่า ณ สิ้นปีรายรับที่ได้จากเงินคืนพวกนี้มันมากขนาดไหน รายรับพวกนี้เป็นรายรับไม่ต้องเสียภาษี น่าเสียดายที่จะใช้ทิ้งๆ ขว้างๆ


4. จ่ายเงินค่างวดผ่อนสิ่งของต่างๆ ที่ผ่อนหมดแล้ว เข้าบัญชีตัวเองด้วยเงินจำนวนเท่าเดิม วิธีนี้คุณไม่ต้องเดือดร้อน เพราะคุณเคยชินกับภาระการผ่อนนั้นๆ อยู่แล้ว ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขว่าคุณไม่มีภาระผ่อนอะไรใหม่ๆ เข้ามาอีกนะ


5. หยุดนิสัยฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย ตัดทิ้งให้หมด ทำรายการขึ้นมาว่าต้องใช้จ่ายอะไรบ้าง หลายคนแปลกใจว่ายิ่งคิดยิ่งตัดได้เรื่อยๆ


6. เพิ่มผลตอบแทนการลงทุน ไม่ควรยอมรับผลตอบแทนดอกเบี้ยต่ำ เงินออมที่มีอยู่ควรไปสร้างเงินต่อด้วยการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้ ผลตอบแทนสูงสุด ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างสมดุลในการรับความเสี่ยงด้วย


7. เป็นสมาชิกสหกรณ์ เป็นวิธีง่ายสุดของการออมเงิน พร้อมทั้งเป็นแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำอีกต่างหาก


8. ซื้อพันธบัตรรัฐบาล สำหรับประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการออกพันธบัตรประเภทต่างๆ ให้ผู้สนใจ ถ้าสนใจเข้าไปดูที่ www.bot.or.th การจำหน่ายพันธบัตรให้กับประชาชน สิ่งที่ต้องดูคือประเภทพันธบัตร อัตราดอกเบี้ย และวันจ่ายดอกเบี้ย


9. ใช้ประโยชน์จากการโอนเงินบัญชีธนาคาร เมื่อเงินเดือนถูกนำฝากเข้าในบัญชีของคุณแล้ว คุณควรให้มันอยู่ในบัญชีธนาคารให้นานที่สุด (ฮา)


10. เข้าร่วมแผนออมเงินของบริษัท แผนการออมของบริษัทเป็นแผนออมเงินแบบปลอดภาษี และนายจ้างช่วยจ่ายสมทบ เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับลูกจ้าง


11. ใช้การเสียภาษีให้เป็นประโยชน์ เรียนรู้เรื่องภาษี ประโยชน์ที่คุณไม่ควรเสียและประโยชน์ที่คุณควรได้ (เรื่องลดหย่อนนั่นเอง)


12. เข้าโครงการออมเงินที่น่าสนใจ เปิดหูเปิดตาให้กว้าง อาจมีโปรแกรมออมที่นึกไม่ถึง


13. ส้มหล่น อย่าเพิ่งกินหมดในคราวเดียว เงินก้อนใหญ่ไม่มาบ่อยครั้ง เช่น มรดก รางวัลเกมโชว์ ลอตเตอรี่ เงินปันผลกองทุน ฯลฯ เงินก้อนนี้ควรนำไปใช้ในการออมหรือลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ ทั้งนี้ อย่าลืมปรึกษามืออาชีพด้านภาษีด้วย


14. รัดเข็ดขัดชั่วคราว อยากได้อะไรมากๆ ลองรัดเข็มขัดในช่วงเวลาหนึ่งๆ เพื่อออมเงินให้มากกว่าปกติ เก็บเงินได้เท่าราคาของ แล้วจึงค่อยกลับสู่การดำเนินชีวิตปกติ


15. ฝากเงินเข้าบัญชีส่วนบุคคล เพื่อการเกษียณอายุสัปดาห์ละครั้ง ในต่างประเทศนิยมมาก มีการทำบัญชีฝากสะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายก้อนใหญ่เพียงครั้งเดียว สำหรับเมืองไทยมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งนายจ้างจ่ายสมทบให้


16. ให้นำเงินเดือนส่วนที่เพิ่มไปฝาก ถ้ารับเงินเป็นรายสัปดาห์หรือราย 2 สัปดาห์ อาจเป็นได้ว่าบางเดือนคุณจะได้รับเงินมากครั้งกว่าปกติ เช่น ถ้าได้รับเงินเป็นรายสัปดาห์ จะมี 4 เดือนที่ได้รับเงินมากครั้งกว่าปกติ หรือถ้าได้รับเงินเป็นราย 2 สัปดาห์ จะมี 3 เดือนที่คุณได้เงินเดือน 3 ครั้ง ครั้งที่เกินมาให้นำไปเข้าบัญชีเงินออม (ทันที)


17. เก็บเงินเบิกรายการต่างๆ ส่วนที่เกินจากรายจ่ายจริงเข้าบัญชีเงินออม ค่าเดินทางหรือรายจ่ายอื่นที่เบิกบริษัทได้ ควรเก็บส่วนเกินจากรายจ่ายจริงไว้ หรือคุณอาจได้ค่าล่วงเวลา ควรเก็บเงินส่วนนี้มาออมเช่นกัน เช่น ได้ค่าล่วงเวลาเดือนละ 2,000 บาท ถึงสิ้นปีจะมีเงินก้อน 2.4 หมื่นบาท สามารถนำมาใช้จ่ายในกรณีพิเศษโดยไม่ต้องไปถอนเงินออมหลัก


18. ยืมมาออม บางคนประสบความสำเร็จในการกู้เงินธนาคาร แล้วนำกลับไปฝากในบัญชีเงินออมของตนเองอีกทีหนึ่ง วิธีนี้ใช้ได้ผลกับคนที่กำลังมีค่าหักลดหย่อน (เช่น กู้ซื้อบ้าน) และใช้ได้กับช่วงเวลาที่ดอกฝากมากกว่าดอกกู้ (หลังภาษี) เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันไม่ต้องพูดถึง


19. นำเงินปันผลและดอกเบี้ยไปต่อเงินโดยอัตโนมัติ เมื่อลงทุนหรือฝากเงินในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใด จัดการให้เงินปันผลหรือดอกเบี้ยสามารถนำฝากหรือลงทุนต่อได้อัตโนมัติ ในระยะยาวจะเห็นผลน่าพอใจ


20. ทิ้งเงินไว้ในบัญชีกระแสรายวันให้น้อยที่สุด มีคนจำนวนมากทิ้งเงินไว้ในกระแสรายวัน (เพราะปลอดดอกเบี้ย) แต่หารู้ไม่ว่ากำลังพลาดโอกาสในการทำเงิน ที่ควรก็คือมีเงินในกระแสรายวันให้พอกับรายจ่ายรายเดือน หากเงินเหลือให้โอนไปยังบัญชีเงินฝากที่มีดอกเบี้ยหรือโอนไปลงทุนใน ผลิตภัณฑ์การเงินที่มีดอกเบี้ยดีสุดในเวลานั้น


21. ใช้ประโยชน์จาก Float ความหมายของ Float คือระยะช่วงที่ผู้ถือเช็คได้รับเช็คไปจนกระทั่งถึงตอนที่ได้รับเงินสั่งจ่าย ตามเช็ค กล่าวคือช่วงที่ยังไม่ได้ถูกตัดบัญชีก็ควรแช่เงินไว้ในบัญชีเงินฝากให้นาน เท่าที่จะนานได้ ก่อนจะโอนไปเข้าบัญชีกระแสรายวันเพื่อตัดจ่ายเช็ค


22. จ่ายหนี้ให้หมด คุณอยากได้ผลตอบแทน 17-21% หรือเปล่า? อย่ามีหนี้บัตรเครดิตสิ เคลียร์หนี้บัตรให้หมด รู้มั้ยว่าถ้ายอดหนี้อยู่ที่ 2.4 หมื่นบาท ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งปีอยู่ที่ 4,000-5,200 บาท รีบเคลียร์หนี้ให้หมด ผลตอบแทนที่คุณจะได้คือไม่ต้องเสียดอกเบี้ยก้อนนี้ การปลอดหนี้บัตรจึงเป็นวิธีออมเงินก้อนใหญ่ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีหนี้ (จริงๆ) หาบัตรที่ดอกถูกสุดมาใช้

6 วิธีช่วยวัยรุ่นเก็บเงิน

เงินไม่พอใช้....เงินหายไปไหนหมดเนี่ย...ทำไมเราไม่มีเงินเก็บเลยเป็นคำถามที่วัยรุ่นมักจะถามตัวเองอยู่เป็นประจำ

ผู้ใหญ่ มักจะต่อว่าวัยรุ่นเสมอว่าใช้เงินเก่ง ทั้ง ๆ ที่ยังต้องแบมือขอเงินจากพ่อแม่ ไม่สามารถทำงานหารายได้ด้วยตัวเอง และมันก็เป็นจริงอย่างที่ผู้ใหญ่เค้าว่าซะด้วย...???

การใช้เงิน เก่งของน้อง ๆ วัยรุ่นไม่ใช่ว่าจะโทษที่ตัวน้องมือเติบใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย แต่อาจเป็นเพราะน้อง ๆ วัยรุ่นขาดการควบคุม ขาดการจัดสรรการใช้จ่ายที่ถูกต้องต่างหาก

สัปดาห์นี้เลยมีวิธีการบริหารการใช้เงิน 6 วิธีมาฝากกัน

วิธีแรก
เปิด บัญชีธนาคารให้เหมาะสม วิธีนี้จัดให้สำหรับน้อง ๆ เด็กต่างจังหวัดที่เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ หรือต้องไปเรียนในจังหวัดที่ไม่ใช่บ้านเกิดของตัวเอง

ทุกเดือนน้อง ๆ จะต้องขอเงินเดือนจากพ่อแม่ พ่อแม่ส่วนใหญ่จะใช้วิธีเข้าบัญชีให้เพราะสะดวกดี เลยแนะนำให้เปิดบัญชี ATMสาขาในกรุงเทพฯ หรือในจังหวัดที่เรียนอยู่ เพราะการกดเงินข้ามเขตจะต้องเสียค่าธรรมเนียม และควรกด ATM จากธนาคารเจ้าของบัญชี เห็นว่าตอนนี้กดข้ามธนาคารก็เสียค่าธรรมเนียมเหมือนกัน ยิ่งกดมากยิ่งเสียเงินเยอะ

วิธีที่สอง
ทำบัญชีรายรับรายจ่าย อย่างที่บอกแล้วว่าน้อง ๆ มักจะถามตัวเองเสมอว่าเงินของเราหายไปไหนหว่า....

วิธี แก้ก็คือเราต้องทำบัญชีรายรับรายจ่าย ไม่ว่าจะจ่ายเงินค่าหนังสือ ค่าสบู่ ยาสีฟัน ซื้อของอะไรก็แล้วแต่ ควรจะเก็บบิลไว้และจดบันทึกประจำวันว่าใช้จ่ายอะไรไปบ้าง เราจะได้รู้ว่าใช้เงินเกินเงินเดือนที่คุณพ่อคุณแม่ให้มาหรือเปล่า อ้อ...แล้วอย่าลืมเอาสมุดบัญชีธนาคารไปอัพเดทบ่อย ๆ ด้วย เราจะได้รู้ความเคลื่อนไหวของยอดเงินแต่ละเดือน

วิธีที่สาม
อยู่ ห่างจากเพื่อนไฮโซเข้าไว้ วิธีนี้ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้คบเพื่อนไฮโซหรือปฏิเสธสังคมแต่ประการใด แต่อยากให้เลือกกลุ่มเพื่อนที่จะไปกินข้าว ไปช้อปปิ้งซักหน่อย เพราะถ้าไปอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ใช้เงินมือเติบ ตกเย็นต้องไปสังสรรค์กินโน่นนี่นั่นทุกวี่วัน เงินเดือนแม่ให้มาเท่าไหร่ก็คงไม่พอ

วิธีที่สี่
เลือก โปรโมชั่นโทรฯมือถือให้เหมาะสม ว่ากันว่าค่าใช้จ่ายที่มากที่สุดของ วัยรุ่นก็คือค่าโทรศัพท์มือถือ วัยรุ่นหลายคนถือคติ “ไม่มีกินไม่ว่า ขอข้ามีเงินจ่ายค่าโทรฯ มือถือ” แต่ไม่รู้จักใช้ให้เหมาะสม

เลือก โปรโมชั่นให้พอดีกับการโทรฯในแต่ละเดือน และโทรฯเท่าที่จำเป็น ส่วนใครที่ชอบเมาท์ติดพันก็ลองใช้วิธีแลกเหรียญมากองไว้เยอะ ๆ และจ้องไปที่นาฬิกา ทุก 1 นาทีที่ผ่านไปกับโทรศัพท์ก็หยิบเงิน 3 บาทออกมากองไว้ตรงหน้า เลิกโทรฯเมื่อไหร่ก็ลองนับเงินที่เสียไปดู แบบนี้เราจะลดเวลาโทรฯมือถือลงโดยอัตโนมัติ

วิธีที่ห้า
ใช้ บัตรนักเรียนนักศึกษาให้มีค่าที่สุด ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าผ่านประตูเวลาไปไหนมาไหน ถ้าเค้ามีโปรโมชั่นสำหรับนักเรียน เราต้องใช้บัตรประจำตัวให้เกิดประโยชน์ อย่ามองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะถ้าหลาย ๆ ครั้งเข้าก็รวมเป็นเงินโขอยู่

วิธีสุดท้าย
ออม เงินเป็นรายเดือน เราจะต้องกันเงินส่วนหนึ่งจะ 5, 10, 15, หรือ 20% จากเงินเดือนที่แม่ให้มาก็แล้วแต่ความสามารถของแต่ละคน เข้าบัญชีฝากประจำไว้เลย และสำคัญต้องทำทุกเดือน ครบปีเราจะภูมิอกภูมิใจกับยอดเงินที่เพิ่มขึ้น

วิธี เด็ด ๆ ช่วยเก็บเงิน จะเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้ หรือจะผสมกันหลายวิธีก็ดี แต่ถ้าเหมาหมดทุกวิธีก็เยี่ยม คราวนี้แหละ.....เราจะมีเงินเก็บ เป็นเถ้าแก่น้อยคอซองขาสั้นทั้งที่ยังเรียนอยู่เลย..!!.

7 แหล่งเงินมีไว้ใช้หลังเกษียณ

ในช่วงที่เรี่ยวแรงยังมี งานการยังมีให้ทำ เรามีทั้งรายได้ที่มาจากการทำงาน เพื่อนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ส่วนที่เหลือก็จะนำไปออมหรือลงทุนต่อไป
แต่ลองจินตนาการถึงชีวิตหลังเกษียณ ที่จะเดินทางมาถึงทุกคนไม่ช้าก็เร็ว เมื่อรายได้จากการทำงานหยุดไป แต่รายจ่ายในชีวิตประจำวันยังคงมีอยู่ ประกอบกับวงจรชีวิตของมนุษย์เราที่ยืนยาวขึ้นจากพัฒนาการทางการแพทย์ที่ก้าว หน้าไปไกล
ทำให้เราจำเป็นต้องคิดวางแผนเพื่อชีวิตหลังเกษียณของตัวเองให้มากขึ้น เมื่อรายได้จากการทำงานหมดไป แต่ค่าใช้จ่ายมิได้หยุดไปด้วย
เราจำเป็นต้องมีแหล่งเงินก้อนเอาไว้ใช้หลังเกษียณ แล้วเราจะสามารถหาแหล่งเงินก้อนเอาไว้ใช้ในยามเกษียณได้จากแหล่งใดบ้าง

...............................

แต่ละคนมีแบบอย่างและสไตล์การเก็บออม เพื่อใช้ในยามเกษียณไม่เหมือนกัน นั่นก็เพราะความชื่นชอบ ความถนัด และความรู้ของแต่ละคนแตกต่างกัน
ลองมาดูกันว่า มีการออมเพื่อเกษียณอายุด้วยรูปแบบไหนบ้าง

@การฝากเงินกับธนาคาร
ยังคงเป็นรูปแบบวิธีการเก็บเงินที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูง เนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลยังค้ำประกันเงินต้น และดอกเบี้ยทั้งจำนวน และยังเป็นแหล่งเงินออมที่มีสภาพคล่องสูงสามารถที่จะเบิกเป็นเงินสดออกมาใช้ ได้ทุกเมื่อ แล้วก็เป็นรูปแบบที่คนไทยส่วนใหญ่คุ้นเคยกันอยู่แล้ว แม้ว่าจะมีข้อด้อยอยู่บ้างตรงที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในปัจจุบันค่อนข้างที่ จะต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนอื่นๆ ก็ตาม แต่ธนาคารก็ยังเป็นแหล่งเงินออมที่ใหญ่ที่สุดสำหรับคนไทยส่วนใหญ่ใน ปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม "เลิศชัย กอเจริญรัตนกุล" Director Coperates/Fund บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์(ประเทศไทย) จำกัด หรือฟิทช์ มองว่า ได้มีเงินออมบางส่วนที่ไหลเข้ามาใน "กองทุนตราสารตลาดเงิน" มากขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จากการที่ผลตอบแทนในตลาดเงินต่ำ และกองทุนตราสารตลาดเงินเองสามารถเข้ามาทดแทนได้ค่อนข้างดี ด้วยผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินฝาก สภาพคล่องที่น้อยกว่าเงินฝากเพียงเล็กน้อยคือ ไถ่ถอนวันนี้แล้วพรุ่งนี้ได้เงิน แต่ผลตอบแทนที่ได้รับก็มากขึ้น อีกทั้งผลตอบแทนที่ได้ยังไม่ต้องเสียภาษีอีกด้วย จึงทำให้มีผู้มีเงินออมบางส่วนแบ่งเงินมาลงทุนในกองทุนตราสารตลาดเงินเพิ่ม มากขึ้น นอกจากนี้ นักลงทุนบางส่วนเองอาจจะมีการพักเงินเอาไว้ในกองทุนตราสารตลาดเงินเพื่อรอ จังหวะในการลงทุนด้วยเช่นเดียวกัน
"ซึ่งหากใครต้องการความสบายใจในการลงทุนเกี่ยวกับความมั่นคงของเงินต้นก็อาจ จะพิจารณาเลือกกองทุนตราสารตลาดเงินที่ได้รับการจัดอันดับเรทติ้ง จากฟิทช์เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนก็ได้"

@ทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์หรือแบบบำนาญ
ถือว่าเป็นแหล่งของเงินไว้ใช้ยามเกษียณอีกแหล่งที่ผู้ลงทุนไม่ควรมองข้าม เพราะการทำประกันชีวิตแบบนี้นอกจากจะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไข ของกรมธรรม์แล้ว คุณยังรู้ผลตอบแทนที่แน่นอน เช่น คุณซื้อกรมธรรม์แบบสะสมทรัพย์ที่ทุนประกัน 200,000 บาท ถ้าคุณเสียชีวิตระหว่างที่กรมธรรม์มีผลบังคับ ผู้รับประโยชน์จะได้รับเงิน 200,000 บาท หรือถ้าครบอายุกรมธรรม์แล้วคุณยังมีชีวิตอยู่ คุณก็จะได้รับเงิน 200,000 บาท คืน และกรมธรรม์บางแบบนั้นจะมีเงินปันผลคืนให้คุณในระหว่างอายุสัญญาด้วย
อีกประเภทหนึ่งคือ กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ(Annuity) ที่จะจ่ายเงินให้ผู้ทำประกันเป็นรายงวดตามสัญญาเมื่อเกษียณหรือครบสัญญา
โดย "อัจฉรา สุทธิศิริกุล" กรรมการผู้จัดการ บลจ.นครหลวงไทย บอกว่า เป็นคนที่ชอบระบบบำนาญ แต่ในเมืองไทยนอกจากราชการแล้วไม่ค่อยมี ระบบบำนาญก็คือ ว่าคุณจะได้รับรายได้เป็นจำนวนเท่าๆ กันไปจนเสียชีวิต ข้อดีของระบบนี้คือ คุณไม่ต้องกังวลเรื่องคุณจะลงทุนอะไร ใครจะเป็นยังไง เพราะจะมีเงินเข้าบัญชีคุณมาทุกๆ เดือน เพราะฉะนั้นจะมีประกันชีวิตของบางที่เท่านั้นไม่ใช่ทุกที่ให้ผลตอบแทนในรูป แบบของบำนาญคือ ว่าพี่ก็ออมผ่านตัวนี้ไปพอถึงครบกำหนดเวลากรมธรรม์พี่ก็ได้รับเงินเป็นราย เดือนมาทุกเดือนจนเสียชีวิต เราไม่ต้องไปกังวลว่าเราจะอายุยืนแค่ไหน เพราะว่าประกันจะส่งเงินให้เราจนเราเสียชีวิต
"บางคนก็ถามว่าแล้วถ้าเราอายุไม่ยืนละ มันขาดทุน พี่คิดว่าถ้าเราเสียชีวิตไปแล้วตรงนั้นคงไม่ใช่สิ่งที่สำคัญๆ อยู่ที่ว่าถ้าเราอายุยืนมากๆ แล้วถ้าเราอายุมากขึ้น ความชำนาญความอำนวยความสะดวกของเราจะตกไปเรื่อยๆ เราไม่รู้ว่าเราจะดูแลเงินลงทุนของเราได้มากน้อยอย่างไร เพราะฉะนั้นพี่ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งไว้สำหรับทำประกันชีวิตแบบนี้ไว้"
นอกจากนี้ เงินที่คุณชำระเป็นเบี้ยประกันชีวิตเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 50,000 บาท ยังนำมาลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย แต่ข้อด้อยของการทำประกันชีวิตคือ ขาดสภาพคล่องเพราะเป็นการซื้อความคุ้มครองและสะสมเงินระยะยาว ทำให้คุณเสียโอกาสที่จะนำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ ที่อาจให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า

@เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยวางแผนการเงินให้คนที่ทำงานในภาคเอกชนสะสม เงินเข้ากองทุนทุกๆ เดือน โดย "อารยา ธีระโกเมน" หัวหน้าธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บลจ.ทิสโก้ ในฐานะอุปนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุนและประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยง ชีพ บอกว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพถือเป็นการออมภาคสมัครใจที่ให้ประโยชน์กับสมาชิกค่อน ข้างมาก เพราะนอกจากเงินที่ลูกจ้างสะสมเข้ากองทุนแล้ว นายจ้างยังสมทบให้ลูกจ้างในสัดส่วนที่เท่ากันอีกด้วย เหมือนออม 1 ส่วน ได้ 2 ส่วน ซึ่งเป็นเครื่องมือในการออมที่ดีมาก
นอกจากนี้ ประเทศไทยเรายังเป็นประเทศที่ได้ประโยชน์ทางภาษีในส่วนของกองทุนสำรองเลี้ยง ชีพมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง โดยสามารถนำเงินไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาทต่อปี แล้วเรายังได้ประโยชน์ทางภาษีในลักษณะ "EEE" อีกด้วย คือ E แรก เงินที่เราสะสมเข้าไปในกองทุนนำไปลดหย่อนภาษีได้ E ที่สอง เงินที่กองทุนนำไปลงทุนไม่ต้องเสียภาษี และ E ที่สามตอนสมาชิกออกจากกองทุนเมื่อเกษียณตามเงื่อนไขก็ได้เงินเต็ม 100% ไม่ต้องเสียภาษีถือว่าเป็นช่องทางการออมที่ดีมากที่ควรจะสนับสนุนให้มีขึ้น มากๆ
"ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้นายจ้างจะจ่ายสมทบเงินเข้ากองทุนด้วย แต่การจะสะสมเงินเข้ากองทุนนั้นขึ้นอยู่กับความสมัครใจร่วมกันของลูกจ้างและ นายจ้าง แต่มีข้อดีคือ ได้สะสมเงินทั้งในส่วนของเงินที่ลูกจ้างสะสมและส่วนที่นายจ้างสมทบด้วย นอกจากนี้เงินที่สะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังได้รับการยกเว้นภาษีอีก ด้วย จึงถือว่าเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญสำหรับชีวิตในวัยเกษียณอีกแหล่งหนึ่งเลยที เดียว โดยเงื่อนไขของกองทุนในการนำเงินออกจะยิ่งได้ประโยชน์มากถ้าคุณทำงานอยู่นาน จนเกษียณ เพราะนั่นถือเป็นเป้าหมายของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่แล้ว"

@เงินประกันสังคมกรณีชราภาพ
เป็นอีกแหล่งเงินสำหรับคนวัยเกษียณที่ไม่ควรละเลย เพราะหนึ่งในความคุ้มครองที่ประกันสังคมให้กับผู้ประกันตนก็คือ ความคุ้มครองในกรณีชราภาพนั่นเอง เกี่ยวกับเรื่องนี้ "รัชยา กุลวานิชไชยนันท์" ผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 5 บอกว่า สำหรับผู้ที่ทำงานในภาคเอกชนเงินที่สะสมเข้ากองทุนประกันสังคมปัจจุบันหัก จากลูกจ้างและนายจ้างฝ่ายละ 5% โดยรัฐบาลจะสมทบให้อีก 2.75% รวมแล้ว 12.75% เพื่อใช้เป็นสวัสดิการของสมาชิกผ่านประกันสังคม โดยให้ความคุ้มครองสมาชิกใน 7 กรณี ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ "ความคุ้มครองในกรณีชราภาพ" ทั้งนี้เงินที่ลูกจ้างและนายจ้างส่งเข้าประกันสังคมฝ่ายละ 5% นั้นจะเก็บไว้เป็นกรณีบำนาญฝ่ายละ 3% รวมเป็น 6% เข้ากองทุนชราภาพซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2541 เป็นต้นมา
"โดยผู้ที่ส่งเงินสมทบมาไม่ครบ 180 เดือน จะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงิน "บำเหน็จ" โดยประกันสังคมจะคืนให้ 6% ของเงินเดือน นับตั้งแต่เริ่มต้นส่งจนออกจากงาน ส่วนผู้ที่ส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 180 เดือน ก็จะได้รับผลตอบแทนในรูปของ "บำนาญ" โดยผู้ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ตรงนี้จะต้องมีครบทั้ง 3 เงื่อนไข คือ ระยะเวลาส่ง 180 เดือน ที่จะเป็นตัวกำหนดว่าจะได้บำเหน็จหรือบำนาญ ออกจากงานและมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์"
รัชยา บอกว่า สำหรับคนที่เป็นผู้ประกันตนไม่ครบ 15 ปี(180 เดือน) ก็ออกจากงานเสียแล้ว แต่เงินที่คุณส่งเข้ามาในส่วนของประกันชราภาพ 3% นายจ้าง 3% รวมเป็น 6% นั้นประกันสังคมคืนให้หมดพร้อมทั้งดอกผลที่เกิดจากการลงทุนเป็นล่ำซำเป็น เงินก้อนออกไปเลยครั้งเดียวเรียกว่าบำเหน็จ
ส่วนคนที่ส่งครบ 15 ปี(180 เดือน) และออกจากงานเมื่ออายุ 55 ปีไปแล้ว คุณจะได้เงินคืนเป็นรายเดือนตลอดชีวิต 15% ของเงินเดือน 60 เดือนเฉลี่ยก่อนเกษียณ โดยมีเพดานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท 15% ก็ประมาณ 2,250 บาท ก็จะได้เงินทุกเดือนไป
นอกจากนี้ หากระยะเวลาในการส่งเงินนานกว่า 15 ปี ผลประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับจะเพิ่มขึ้นปีละ 1% เช่น คุณส่งเงินสมทบเข้าประกันสังคมนาน 20 ปี ก็จะได้รับเงินตอนออก 20% ซึ่งถือว่าคุ้มค่ามาก เพราะเงินที่หักเข้าในส่วนของกองทุนชราภาพจากลูกจ้าง 3% และนายจ้าง 3% นั้น รวมเป็น 6% แต่เวลาออกเราเอาออกตั้ง 15%

@เงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) คือ เงินที่ข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข.จะได้รับจากกองทุนเมื่อออกจากราชการ โดยสมาชิก กบข.จะสะสมเงินเข้ากองทุนทุกเดือน และรัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนให้เป็นประจำทุกเดือนเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีเงินประเดิมและเงินชดเชยที่รัฐบาลจ่ายเพิ่มเติมให้แก่สมาชิกที่บรรจุ รับราชการก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 เท่านั้น
โดย "วิสิฐ ตันติสุนทร" เลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) บอกว่า เป้าหมายในเรื่องการออมของสมาชิกนั้นเป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญและได้ขอ แก้ไขพ.ร.บ. กบข.ตั้งแต่ที่เข้ามารับตำแหน่งสมัยแรกเมื่อ 5 ปีที่แล้วคือ เรื่องของการให้สมาชิกสามารถที่จะ "ออมเพิ่ม" ได้จากเดิมที่ส่งเงินสะสม 3% ของเงินเดือนเท่านั้น
ในอนาคตสมาชิกคนไหนอยากจะออม 7% ,10% หรือ 15% ก็สามารถที่จะทำได้ตามกำลัง แต่ในส่วนของรัฐยังสมทบเท่าเดิม คือ 3% และให้สมาชิก "ออมต่อเนื่อง" ได้คือ เมื่อเกษียณแล้วไม่ต้องเอาเงินออกให้เก็บสะสมไปเรื่อยๆ แล้วค่อยๆ ทยอยเอาเงินออกโดย กบข.จะเป็นคนจัดการบริหารเงินให้ เพื่อให้สมาชิกมีการออมได้อย่างต่อเนื่อง เพราะบางครั้งสมาชิกเมื่อเกษียณแล้วรับเงินก้อนออกไป ไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไร นี่คือ ปัญหา เมื่อนำเงินออกไปแล้วไม่สามารถที่จะบริหารเงินตัวเองต่อไปได้ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตหลังเกษียณของสมาชิกได้
"เชื่อมั่นว่ากฎหมายดังกล่าวน่าจะผ่านสภาได้ภายในรัฐบาลชุดนี้อย่างแน่นอน เพราะเป็นกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก กบข.โดยรวม ซึ่ง กบข.เองก็มีความพร้อมที่จะสามารถดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้ทันที"

@เงินบำเหน็จบำนาญกระทรวงการคลัง
เมื่อข้าราชการออกจากราชการ และมีเวลาราชการตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด สามารถที่จะเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญตามสิทธิ โดย "เงินบำเหน็จ" คือ เงินที่รัฐจ่ายให้เพียงครั้งเดียว เมื่อข้าราชการออกจากราชการและมีเวลาราชการ 10 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือออกจากราชการเพราะสูงอายุ ทุพพลภาพ ทดแทนในกรณีนี้ต้องมีเวลาราชการ 1 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยมีสูตรคำนวณเงินบำเหน็จดังนี้
บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ
ส่วน "เงินบำนาญ" คือ เงินที่รัฐจ่ายให้แก่ข้าราชการที่ออกจากราชการ โดยมีเวลาราชการ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือออกจากราชการด้วยเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ ทดแทน และมีเวลาราชการ 10 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยเงินบำนาญจะจ่ายให้แก่ข้าราชการเป็นรายเดือน โดยมีสูตรคำนวณเงินบำนาญดังนี้
บำนาญสำหรับข้าราชการที่ไม่เป็นสมาชิก กบข.
บำนาญ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ/50
บำนาญสำหรับข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข.
บำนาญ = เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x เวลาราชการ/50
*แต่ไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

@กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF)
กองทุน RMF ก็เป็นแหล่งเงินสำหรับคนวัยเกษียณที่สำคัญ เพียงแต่ปัจจุบันยังมีคนเข้ามาใช้ประโยชน์ไม่ค่อยมากนัก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง โดย อารยา บอกว่า กองทุน RMF นั้น เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อเป็นหลักประกันให้ตัวเอง และครอบครัวเมื่อเกษียณแล้ว โดยเข้ามาเติมเต็มในส่วนของ "กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ" ซึ่งมีวัตถุประสงค์เดียวกัน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่ใช่คนทำงานทุกคนจะได้อยู่ในระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือผู้ที่อยู่ในระบบแต่อยากที่จะออมเพิ่มให้เต็มตามสัดส่วนการออมสูงสุด คือ 15% ของเงินได้ หรือสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาทนั้น ซึ่งด้วยระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ ก็สามารถที่จะออมเพิ่มผ่านกองทุน RMF ได้สำหรับผู้ที่สามารถออมเพิ่มได้มากกว่าที่นายจ้างสมทบให้ได้ เป็นลักษณะของการออมโดยสมัครใจ ในเงื่อนไขการลงทุนสูงสุดของกองทุน RMF ที่ 300,000 บาทนั้น จึงให้นับรวมเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.)ด้วย ในกรณีที่มี
และสำหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เช่น ผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือลูกจ้างที่นายจ้างไม่ได้จัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยง ชีพก็สามารถที่จะออมเงินเพื่อชีวิตหลังเกษียณผ่านกองทุน RMF นี้ได้เช่นเดียวกัน
"โดยปกติผู้ที่อยู่ในระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้า ราชการ จะไม่ได้ใช้สิทธิภาษีเต็มที่ 300,000 บาท หรือ 15% ของรายได้แต่ประการใด ดังนั้น กองทุน RMF จึงมีประโยชน์มากที่จะช่วยให้ผู้ที่มีศักยภาพที่จะสามารถออมเพิ่มได้สามารถ ที่จะออมผ่านกองทุน RMF นี้ได้ โดยได้รับประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกัน เพื่อเป็นแหล่งเงินออมไว้ให้ตัวเองในยามเกษียณ แม้แต่ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนกบข.ก็สามารถ ที่จะใช้กองทุน RMF เพื่อชีวิตในวัยเกษียณของตัวเองได้เช่นเดียวกัน"
ด้าน "กำพล อัศวกุลชัย" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานธุรกิจกองทุนรวม บลจ.ไทยพาณิชย์ บอกว่า กองทุน RMF นี้เป็นประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะกับคนที่อยู่ในวัยใกล้เกษียณ เฉพาะประโยชน์ทางภาษีที่ผู้ลงทุนได้รับตั้งแต่ 10-37% ตามฐานภาษีของผู้ลงทุนแต่ละรายก็ถือเป็นผลตอบแทนที่น่าสนใจที่น่าจะจูงใจให้ คนเข้ามาลงทุนแล้วอย่างไม่ต้องสงสัย นี่ยังไม่นับรวมผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุนที่กองทุนเข้าไปลงทุนอีก ด้วย ซึ่งมีนโยบายให้เลือกลงทุนหลากหลายตามความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนยอมรับได้
ดังนั้น สำหรับใครที่สามารถจะใช้ประโยชน์ตรงนี้ผ่านกองทุน RMF ได้ ก็อยากจะให้มาใช้ประโยชน์กันให้มากๆ ทั้งนี้ผู้ลงทุนที่ลงทุนครบถ้วนตามเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อ คือ "ลงทุนมาไม่น้อยกว่า 5 ปี" และมี "อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์" ถูกต้องตามเงื่อนไขการลงทุน เมื่อขายคืนหน่วยลงทุนผู้ลงทุนก็จะได้รับประโยชน์ทางภาษีครบถ้วนคือ ไม่ต้องเสียภาษีกำไรจากเงินลงทุน(ถ้ามี) และไม่ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับมาย้อนหลัง 5 ปีอีกด้วย
ทั้งหมดนี้คือ แหล่งเงินที่คุณสามารถที่จะเตรียมเอาไว้ให้ตัวเองได้มีเงินก้อนเอาไว้ใช้ หลังเกษียณที่ควรจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเองเต็มที่เลยทีเดียว

15วิธีเก็บเงินแบบง่ายๆ

เงินแต่ละบาท กว่าจะหามาได้ ปาดเหงื่อไม่รู้กี่รอบ
ได้มาแล้ว ต้องเก็บรักษาให้อยู่กับเรานาน เก็บไว้ใช้ยามจำเป็น

1. เริ่มเก็บเงินวันนี้
อ่านหน้านี้จบ เดินไปหยอดกระปุกเลย
แค 10 บาท ก็ถือเป็นนิมิตหมายอันดี แต่ที่สำคัญ เริ่มเสียแต่เดี๋ยวนี้

2. เงินออม = บิล รักษาวินัย
เอาเงินเข้าบัญชีเงินออม เหมือนเวลาที่คุณต้องไปจ่ายบิล
แค่นี้ คุณก็จะมีเงินออมเข้าทุกเดือน

3. หากล่องออมสิน ซองใส่เงิน กระเป๋าเศษตังค์
แล้วหยอดเงินจำนวนเท่าเดิม เป็นเวลาเท่าๆกันทุกวัน
เช่น 10 บาท ทุกๆวัน หรือ ทุกๆวันเสาร์ และอย่าไปนับ อย่าไปใช้
(แนะให้เป็น กระปุกออมสินแบบ ไม่มีรูแงะ จะดีที่สุด )

4. ตกเย็นกลับถึงบ้าน เทกระเป๋า
เทเอาเศษเหรียญลงในกระปุกให้หมด
อย่าดูถูกเหรียญบาท เพราะ 100 เหรียญ
ก็เท่ากับ แบงก์ ร้อย หนึ่งใบนะ

5. ใช้ การ์ด แคชแบ็ค
ใช้บัตรเครดิตแล้ได้เงินคืนบ้างก็ยังดี

6. เก็บแบงค์ใหญ่ไว้ให้ติดกระเป๋า
จ่ายแบงค์ย่อยๆให้หมดก่อน
พอจบวัน เก็บแบงค์ที่เหลือลงกระปุก

7. จ่ายหนี้ให้หมด
นี่คือหน้าที่สำคัญที่คุณต้องทำให้เสร็จ
ถ้าคิดจะร่ำรวยในอนาคต

8. ถ้าเปลี่ยนโปรโมชั่นมือถือใหม่
ให้ได้ราคาดีกว่าเดิม หรือถูกกว่าเดิม
ให้เก็บเงินที่เป็นส่วนต่างเข้าบัญชีเงินเก็บ

9. ใช้บัตรห้างสรรพสินค้า ลดราคา
ถึงจะแค่ 5% แต่ก็เงินนะจ๊ะ

10. เก็บเงินคืนจากหักภาษี
พอได้คืน อย่าเอาไปใช้ เอาเข้าบัญชีเงินออมซะ

11. ถ้าคุณใช้บัตรเครดิตอย่างมีวินัย
ลองดูรายการแลกของรางวัล
ที่แลกเป็นบัตรเงินสดได้

12. เวลาที่คุณคืนหนังสือ หรือหนังเช่าตรงเวลา
ให้เก็บค่าปรับที่เราต้องจ่าย (ในกรณีคืนช้า)
ให้ตัวเอง ดีกว่าแบ่งให้คนอื่นรวยนะ

13. แบ่งเงินไปลงทุน ในกองทุนรวม หรือซื้อหุ้นบ้าง
(การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรใช้วิจารณญาณ)

14. ซื้อพันธบัตรรัฐบาล
ดอกเบี้ยดีๆ เก็บไว้ใช้ยามแก่

15. เก็บเงินเพื่อครอบครัว
คุณจะได้รู้สึกว่า มีภาระที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น
เมื่อเก็บได้ถึงเป้า ก็แบ่งเงินส่วนหนึ่ง
พาที่บ้านไปเที่ยวบ้าง แต่ไม่ต้องแพงนะ

วิธีการประหยัดเงิน

15ways to save money, save the world

กระแสความสนใจต่อปัญหาภาวะโลกร้อน หรือ Global Warming ได้กระจายไปทั่วโลก Manage Money ฉบับนี้ จึงนําเสนอวิธีการประหยัดเงินในกระเป๋า และช่วยโลกของเราจากปัญหาภาวะโลกร้อนด้วย

1. ปิดไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เมื่อไม่ใช้งาน โดยถอดปลั๊กออกด้วย เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ยังคงใช้ไฟอยู่แม้จะกดปิดแล้ว
2. ควรใช้เครื่องปรับอากาศตามความจําเป็น พร้อมกับตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสม (อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 25 องศา) หรือในช่วงที่อากาศเย็น ลองปรับอุณหภูมิขึ้นสัก 1 - 2 องศา
3. ใช้หลอดประหยัดไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ
3. ใช้หลอดประหยัดไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ
4. หากไม่มีความจําเป็น ควรงดใช้เครื่องทําน้ำอุ่นขณะอาบน้ำ
5. ควรเลือกวิธีการเดินทางที่ใช้พลังงานน้อยที่สุด เช่น การเดิน ขี่จักรยาน หรือใช้บริการรถขนส่งมวลชนแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว ประหยัดทั้งเงิน พลังงาน และยังได้ออกกําลังกาย
6. ปรับเปลี่ยนนิสัยการขับรถเพื่อลดการใช้น้ำมัน เช่น ลดความเร็วในขณะขับรถตรวจเช็กลมยางก่อนออกเดินทาง และหมั่นรักษาระดับลมยางให้เหมาะสม
7. พยายามบริโภคอาหารที่ผลิตและปลูกในท้องถิ่น เพราะนอกจากมีราคาถูกแล้ว ยังช่วยลดการใช้น้ำมันของยานพาหนะที่ใช้ขนส่ง
8. ลดจํานวนชั่วโมงการดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุ แล้วหันไปทํากิจกรรมสร้างสรรค์ง่ายๆ ในครอบครัว เช่น นําเศษวัสดุเหลือใช้ประดิษฐ์เป็นของเล่น ประหยัดทั้งค่าไฟ และค่าของเล่น แถมยังได้ใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว
9. คิดให้รอบคอบก่อนซื้อ เลือกสินค้าที่มีอายุการใช้งานนาน และควรใช้อย่างคุ้มค่า บางชิ้นสามารถนํากลับมาซ่อมแซมแล้วนํากลับมาใช้ใหม่ได้
10. เลี่ยงซื้อสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์สิ้นเปลือง และลดการใช้ถุงพลาสติกโดยนําถุงติดมือไปด้วย หรือสิ้นค้าบางชิ้นใส่ถุงใบเดียวกันได้
11. ใช้กระดาษทั้งสองหน้า คิดก่อนสั่งพิมพ์งาน นํากระดาษที่ไม่ใช้แล้วมาทําเป็นสิ่งประดิษฐ์ง่ายๆ ร่วมกับลูก ช่วยลดขยะ และประหยัดเงิน
12. พยายามใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนกระดาษทิชชู
13. ใช้น้ำอย่างประหยัด เช่น ปิดน้ำขณะแปรงฟันและถูตัว ไม่เปิดน้ำแรงเกินไปขณะอาบน้ำ หรือล้างมือ เป็นต้น
14. เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่ซับซ้อน เช่น กินข้าวสวยหรือข้าวต้ม กินผลไม้สด และหลีกเลี่ยงอาหารกระป๋อง เป็นต้น
15. เมื่อเริ่มลงมือทําข้อใดข้อหนึ่งแล้วอย่าลืมบอกต่อไปยังเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน หรือคนรู้จัก

ที่มา Mother&Care Vol.3 No.31 July 2007

5 วิธีประหยัดเงิน (โดยที่คุณไม่ต้องเหงื่อตก)

ชีวิตอิสระ ::ทำไมต้องจ่ายค่าสมาชิกบัตรเครดิต? ถ้าคุณไม่จำเป็นต้องจ่าย? เลือกธนาคารที่งดเว้นค่าธรรมเนียมนี้ถ้าคุณคิดจะทำบัตรเครดิต และถ้าเป็นไปได้ทำบัตรเครดิตเท่าที่จำเป็นเท่านั้น อย่าทำบัตรเครดิตหลายๆใบ เพียงเพราะเหตุผลว่าคุณจะได้กระเป๋าเดินทางที่เป็นของพรีเมี่ยมสวยเก๋มาใช้ ช่วงซัมเมอร์

ราคานาทีทอง ::พวกอาหารกล่องปรุงสำเร็จแบบวันต่อวัน หรือพวกเบเกอรี่ เราสามารถมองหาส่วนลดได้หลังหนึ่งทุ่มโดยประมาณ มันจะถูกมากๆเลย บางที่ลด 30 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจลดครึ่งราคาเลยก็มี เราเคยซื้อข้าวกล่องชุดญี่ปุ่นที่ราคาจริงประมาณ 75 บาท ในราคา 39 บาท มาแล้ว อาหารพวกนี้มันยังคงใหม่และสดอยู่ พวกเขาเพียงแต่ต้องการเคลียร์อาหารที่มีอยู่ให้หมดก่อนเวลาห้างปิดเท่านั้น เอง

จ่ายรายปีถูกกว่า ::ถ้าคุณต้องดูเคเบิ้ลทีวี หรือต้องอ่านแมกกาซีนทุกเดือนอยู่แล้ว แทนที่คุณจะจ่ายเป็นรายเดือน ก็เลือกจ่ายเป็นรายปีไปเลย จะคุ้มค่ากว่า นอกจากจะได้ส่วนลดแล้ว อาจได้ของแถมอีกต่างหาก เช่นได้ดูฟรีอีก 1 เดือน ได้ครีมบำรุงผิวมาสักชุดสองชุดไงล่ะ

เลือกให้เหมาะ ::ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกบริการที่เป็นแพ็คเกจ อย่างโทรศัพท์มือถือ หรือเคเบิลทีวี คุณไม่จำเป็นต้องเลือกบริการแบบเต็มรูปแบบที่ผู้ให้บริการเสนอให้ก็ได้ คิดทบทวนให้ดีๆเสียก่อน ว่าสิ่งที่คุณต้องการจริงๆคืออะไร บางทีคุณอาจไม่ทันคิดว่ามันเกินความจำเป็นของคุณก็ได้ แล้วจะจ่ายแพงเพื่อส่วนนี้ไปทำไมล่ะ

เคลียร์หนี้เป็นอันดันแรก ::"การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ" เคยได้ยินกันหรือเปล่า เราเชื่อคำกล่าวนี้ล้านเปอร์เซ็นต์ หนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับโรคหรอก ดังนั้นทุกครั้งที่เงินเดือนออก คุณรู้ตัวว่าเป็นหนี้อะไรอยู่ก็ตามจ่ายมันให้หมด อย่าให้พอกพูนได้ จำไว้ว่าอาการ "ชักหน้าไม่ถึงหลัง" น่ะ มันไม่สนุกหรอก

พระราชดำรัสเศรษฐกิจแบบพอเพียง

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540 เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา


…มาใหม่ๆ นี้โครงการต่างๆ ก็เกิดขึ้น โรงงานนี้เกิดขึ้นมาก จนกระทั่งเขานึกว่าประเทศไทยเป็นเสือตัวเล็กๆ และเป็นเสือตัวโตขึ้น เราไปเห่อว่าเป็นเสือ

ความจริงเคยพูดเสมอในที่ประชุมอย่างนี้ว่า การจะเป็นเสือนั้น ไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินหมายความว่า อุ้มชูตัวเองให้ได้มีพอเพียงกับตัวเอง

อันนี้เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวเองจะต้อง ทอผ้าใส่ให้ตัวเองสำหรับครอบครัว อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก

อย่างนี้นักเศรษฐกิจต่างๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัย จริงอาจจะล้าสมัย เพราะว่าคนอื่นเขาก็มีเศรษฐกิจที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน เรียกว่าเศรษฐกิจการค้า ไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียง รู้สึกไม่หรูหรา แต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่า การผลิตที่พอเพียงทำได้

อย่างข้าวที่ปลูก เคยสนับสนุนให้ปลูกข้าวที่พอเพียงกับตัวเอง เก็บไว้ในยุ้งเล็กๆ แต่ละครอบครัวเก็บ และถ้ามีพอก็ขาย แต่คนอื่นกลับบอกว่าไม่สมควร โดยเฉพาะทางภาพอีสาน เขาบอกต้องปลูกข้าวหอมมะลิเพื่อที่จะขาย อันนี้ถูกต้อง ข้าวหอมมะลิขายได้ดี แต่เมื่อขายแล้วของตัวเองจะบริโภคต้องซื้อ จะซื้อจากใคร ทุกคนปลูกข้าวหอมมะลิ ในภาคอีสานมากเขาชอบบริโภคข้าวเหนียว ซึ่งใครจะเป็นคนปลูกข้าวเหนียวเพราะว่าประกาศโฆษณาว่าคนที่ปลูกข้าวเหนียว เป็นคนโง่ อันนี้เป็นสิ่งสำคัญ

เลยสนับสนุนบอกว่า ให้เขาปลูกข้าวบริโภค เขาชอบข้าวเหนียวก็ปลูกข้าวเหนียว เขาชอบข้าวอะไรก็ตาม ให้เขาปลูกข้าวอย่างนั้น และเก็บไว้เพื่อใช้บริโภคตลอดปี ถ้ายังมีที่ที่จะทำนาปรังหรือมีที่มากพอสำหรับปลูกข้าว ก็ปลูกข้าวหอมมะลิเพื่อจะขายที่พูดอย่างนี้เพราะว่าข้าวที่ปลูกสำหรับบริโภค ไม่ต้องเที่ยวรอบโลก ถ้าข้าวที่ซื้อมาต้องข้ามจังหวัดหรืออาจจะข้ามประเทศมา ค่าขนส่งนั้นก็บวกเข้าไปในราคาข้าว

เขาบอกขายข้าวหอมมะลิได้ราคาแพง ซึ่งเป็นความจริงตอนที่ขายผู้บริโภคในต่างประเทศ แต่ต้นทางไม่ได้ค่าตอบแทนมากนักและยังต้องไปซื้อข้าวบริโภค ซึ่งจะแพงกว่าเพราะว่าต้องขนส่งมา

ข้อนี้ได้ทราบดี เพราะว่าเมื่อมีภัยธรรมชาติ จะเป็นที่ไหนก็ตาม สมมติว่ามีอยู่ที่เชียงราย ทางเจ้าหน้าที่บอกว่า ออกไปสงเคราะห์และก็ขอข้าวที่จะไปแจก เราก็ซื้อข้าวในราคากรุงเทพฯ หมายความว่าข้าวนั้นมาจากเชียงราย เพราะเชียงรายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำมาจากเชียงราย ขนส่งมาถึงกรุงเทพฯ ซื้อที่กรุงเทพฯ และส่งไปเชียงราย เสียค่าขนส่งเท่าไร แต่แท้จริงไปซื้อที่เชียงรายได้ ซื้อที่กรุงเทพฯ แต่ให้เขาจ่ายที่เชียงราย ข้าวนั้นไม่ต้องเดินทาง แต่ว่าราคาเขาเดินทาง คือ พ่อค้าเขานำข้าวในนามในเอกสารนำเข้ากรุงเทพฯ เขาเอาค่าเดินทางของข้าวจากเชียงรายเข้ากรุงเทพฯ และบวกค่าเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงราย ลงท้ายต้องเสียเงินราคาข้าวแพง ผู้ที่บริโภคข้าวในภาคเหนือ ก็ต้องเสียแพงเช่นเดียวกับภาคใต้ ถ้าใกล้หน่อยอย่างนราธิวาสก็ซื้อข้าวจากพัทลุง

สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของเศรษฐกิจแบบค้าขาย ภาษาฝรั่งเขาเรียก Trade Economy ไม่ใช่แบบพอเพียง ซึ่งฝรั่งเรียก Self-Sufficient Economy ถ้าเราทำแบบที่ไหนทำได้คือเศรษฐกิจแบบพอเพียงกับตัวเอง เราก็อยู่ได้ไม่ต้องเดือดร้อน

อย่างทุกวันนี้เราเดือดร้อน สำหรับข้าวก็เห็นชัด สำหรับสิ่งอื่นประชาชนก็ต้องใช้มีสิ่งของจำเป็นที่จะใช้หลายอย่างที่เราทำใน เมืองไทยและสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งนอกด้วย แต่สำหรับส่งนอกนั้นมีพิธีการมากมาย มีทางที่จะผ่านมากมาย ลงท้ายกำไรไม่เหลือกำไรมันน้อย แต่ถ้าสามารถที่จะติดต่อโดยตรงอย่างก่อนนี้เขาติดต่อโดยตรงเขาส่งไปเป็นหีบๆ ที่ลงเรือ ที่เรียกว่า Container ก็ส่งไปเต็ม Container ลงท้ายค่าขนส่งไม่แพงนัก


โรงสีแห่งความสุขร่วมกัน

พูดกลับไปกลับมาเรื่องการค้า การบริโภค การผลิต และการขาย รู้ว่าท่านทั้งหลายกำลังกลุ้มใจในวิกฤตการณ์ ตั้งแต่คนที่มีเงินน้อยจนกระทั่งคนที่เงินมาก แต่ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนให้กลับเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียง ไม่ต้องทั้งหมด แม้จะไม่ถึงครึ่งอาจจะเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็สามารถที่จะอยู่ได้ การแก้ไขจะต้องใช้เวลา ไม่ใช่ง่ายๆ โดยมากคนก็ใจร้อนเพราะเดือดร้อน แต่ว่าถ้าทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ก็จะสามารถที่จะแก้ไขได้ ที่จริงในที่นี้ก็มีนักเศรษฐกิจต่างๆ ควรจะเข้าใจที่จะพูด

อย่างรถที่นั่งมาเมื่อสักครู่ สร้างด้วยฝีมือคนไทย มีการใช้วัตถุดิบในเมืองไทยจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะค่าแรง รถคันนี้โรงงานนั้นเดี๋ยวนี้ผลิตไม่ได้เพราะว่าคนไม่มีเงิน ทำให้ไม่มีการหมุนเวียนของเงินก็เลยสร้างรถคันนี้มา คนที่สร้างรถคันนี้มีจำนวน 200 กว่าคนเขาทำรถคันเดียว เลยทำให้เห็นว่าน่าจะหาทางช่วยเหลือคนที่อยู่ในโรงงานนี้ แต่โรงงานเขาก็ดี เขาก็ดูแลคนงาน ไม่ได้ทำให้คนงานเดือดร้อนจนเกินไปเท่ากับมีสวัสดิการ งานก็ทำไม่มากเท่าก่อนนี้ และเงินที่ได้ก็ไม่มากเท่าก่อนนี้ แต่ก็พออยู่ได้

และเขามีความตั้งใจที่จะทำประโยชน์ในพื้นที่ที่ เขายังมีพื้นที่ว่างเปล่าอยู่ เขาบอกว่าเขาขอไปดูโครงการที่เขาหินซ้อนว่าทำอย่างไร สำหรับที่เพาะปลูกในทุรกันดาร ในที่ที่ไม่ค่อยเหมาะสมในการเพาะปลูก เลยตั้งใจสนับสนุนเขา ให้เขาตั้งโรงสีเหมือนโรงสีในสวนจิตรฯ นี้ ซึ่งก็ไม่แพงนัก เมื่อตั้งโรงสีแล้วปลูกข้าวเองบ้าง ไปซื้อข้าวจากเกษตรกรมาสีและขายในราคาที่เหมาะสมในรูปสหกรณ์ดังที่ทำที่สวน จิตรฯ ไม่ได้ใช้ข้าวที่ปลูกในสวนจิตรฯ เพราะว่าข้าวที่ปลูกในสวนจิตรฯ เอาไปเข้าพิธีแรกนาขวัญ แต่ถ้า พูดถึงข้าวที่โรงสีนี้ใช้ ไปซื้อจากเกษตรกรโดยตรงโดยให้ราคาที่เหมาะสม และผู้บริโภคก็ซื้อในราคาถูก เพราะไม่ต้องมีการขนส่งมากเกินไป ไม่ต้องมีคนกลางมากเกินไป ตกลงผู้ผลิตผู้บริโภคก็มีความสุข

กิจกรรมแบบนี้เคยแนะนำไป ซึ่งในหน่วยทหารบางหน่วยเขาก็ทำโรงสี และสนับสนุนเกษตรกรที่อยู่รอบๆ กองทหารนั้น ก็ดูมีความสุข ที่นิคมต่างๆ นิคมที่ประจวบฯ บ้าง ที่ภาคใต้บ้าง ที่อื่นเขามีโรงสี และทำให้การซื้อข้าวขายข้าวเป็นที่พอใจของผู้ขาย

เคยได้แนะนำกับริษัทใหญ่ๆ ให้ทำ ก็ไม่ทราบว่าเขาทำหรือไม่ทำ แต่ว่าถ้าทำอย่างที่กองทหารและนิคมทำ ก็สามารถที่จะประหยัดและมีกิน

การตั้งโรงสีย่อมต้องมีการลงทุน การเพาะปลูก ผลิตข้าวหรือผลิตสิ่งของทางการเกษตรก็ต้องมีการลงทุน จะเอาเงินทุนมาจากไหน ก็นึกว่าผู้ที่มีจิตใจกุศลก็สามารถที่จะสนับสนุน อย่างที่พ่อค้าบางคน เขาบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนกิจการที่ทำอยู่


ต้องถอยหลังเพื่อก้าวหน้า

ที่วันนี้ได้พูดไปแล้วนั้น เป็นวิธีแก้ไขสถานการณ์วิกฤติในปัจจุบันวิธีหนึ่ง เพราะในสมัยนี้เป็นสมัยที่พูดกันได้ว่าโลกาภิวัตน์ ซึ่งเราก็ต้องทำตามประเทศอื่นด้วยเพราะว่าถ้าไม่ทำตามประเทศอื่นตามคำสัญญา ที่มีไว้ เขาอาจจะไม่พอใจ

แต่ว่าทำไมเขาไม่พอใจเพราะว่าของเขาเองก็มี วิกฤตการณ์เหมือนกัน การที่ประเทศใกล้เมืองไทยในภูมิภาคนี้มีวิกฤตการณ์ด้วย ก็ทำให้เราฟื้นจากวิกฤตการณ์นี้ยากขึ้น และไม่ใช่เฉพาะประเทศที่อยู่ในภูมิภาคนี้ แม้ประเทศที่ดูท่าทางเจริญรุ่งเรืองดีก็ยังรู้สึกว่าก็กำลังจะเดือดร้อนขึ้น เพราะว่าถ้าไม่แก้ไขวิกฤตการณ์ในมุมไหนของโลกก็ต้องเดือดร้อนเหมือนกัน

ฉะนั้น ต้องดูว่าเราพยายามที่จะอุ้มชูประชาชนได้ และให้ประชาชนได้ทำงานได้มีรายได้ ก็จะสามารถผ่านวิกฤติ ถ้าจะทำแบบที่มีนโยบาย คือผลิตสิ่งของทางอุตสาหกรรมมากเกินไป ในเมืองไทยตลาดก็น้อยลง เพราะว่าคนมีเงินน้อยลง แต่ข้อสำคัญของเขาบอกว่าให้ส่งออกไปยังประเทศอื่น ประเทศอื่นเขาก็เดือดร้อนเหมือนกัน เขาก็ไม่ซื้อ ถ้าผลิตเป็นผลิตผลทางอุตสาหกรรมและไม่มีผู้ซื้อ ก็เป็นหมันเหมือนกัน

ผลิตผลของเราอาจจะดีกว่าหลายประเทศในภูมิภาคนี้ คือมีอุตสาหกรรมที่เรียกว่าสุดยอด แต่ที่เกิดวิกฤตการณ์ขึ้นมาก็เพราะว่าขยายการผลิตมาแล้วไม่มีใครซื้อเพราะ ไม่มีใครมีเงินพอที่จะซื้อ อย่างรถยนต์ที่ใช้มาเมื่อครู่นี้ เขายังมีรถยนต์อยู่ในสต็อกแต่ขายไม่ออก ไม่ใช่ว่าไม่มีคนอยากได้รถ แต่คนอยากได้รถนั้นไม่มีเงิน ถ้าจะขายรถโดยที่เขาไม่จ่ายเงินให้ ใช้เงินเชื่อ บริษัทก็ไปไม่รอดเหมือนกัน ฉะนั้นเขาชะลอการสร้าง เขาก็เลยมาทำรถคันนี้ให้โดยใช้คนงานตั้ง 200 กว่าคน

นี่ก็เป็นเรื่องของการแก้ไขวิกฤตการณ์ แต่ว่าผู้ที่ชอบเศรษฐกิจแบบสมัยใหม่อาจจะไม่ค่อยพอใจ มันต้องถอยหลังเข้าคลอง มันจะต้องอยู่อย่างระมัดระวัง และต้องกลับไปทำกิจการที่อาจจะไม่ค่อยซับซ้อนนัก คือใช้เครื่องมือที่ไม่ค่อยหรูหรา อย่างไรก็ตาม มีความจำเป็นที่จะต้องถอยหลังเพื่อที่จะก้าวหน้าต่อไป และถ้าไม่ทำอย่างที่ว่า ก็จะแก้วิกฤตการณ์นี้ยาก

ยังไม่ได้พูดถึงคำที่ทุกครั้งเคยพูดกัน ว่าต้องสามัคคีกัน ต้องอย่าปัดขากันมากเกินไป แต่ว่าไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีการทำแบบที่บางคนนึกจะทำ คือจะต้องให้ทุกคนมีโอกาสทำงานตามหน้าที่ และเมื่อทำงานตามหน้าที่แล้วก็หวังดีต่อผู้อื่น อันนี้จะเป็นหลักที่สำคัญ คือทำงานด้วยความเห็นอกเห็นใจกันและทำด้วยความขยันหมั่นเพียร


***จากหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับครบรอบ 2 ปี วันที่ 21 ตุลาคม 2541