วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การออมเงินเพื่อวัยเกษียณ

ในช่วง 15-20 ปีที่ผ่านมา สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมไปอย่างมาก ครอบครัวขยายเริ่มกลายเป็นครอบครัวเดี่ยว ประชากรจำนวนมากที่เกิดในชนบทก็ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยในเมืองเป็นการถาวร เพราะอาชีพในเมืองเป็นอาชีพที่มีรายได้สูงกว่าและแน่นอนกว่าในชนบท อย่างไรก็ตาม แม้อาชีพในเมืองจะมีรายได้สูงกว่าในชนบท แต่ค่าใช้จ่ายก็สูงตามไปด้วย วิถีชีวิตในเมืองเป็นวิถีชีวิตที่ต้องมีเงินเป็นปัจจัยที่หล่อเลี้ยงอยู่ ตลอดเวลาไม่เหมือนกับวิถีชีวิตในชนบทที่หากไม่มีรายได้ก็ยังสามารถเก็บผัก หลังบ้านกินไปวันๆได้โครงสร้างแบบครอบครัวเดี่ยวจะทำให้ผู้สูงอายุที่อาศัย อยู่ในเมืองจำเป็นต้องมีเงินไว้ใช้สำหรับพึ่งพาตนเอง ในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศที่อาศัยอยู่ในเมืองหมดแล้ว ก็มักมีการออมภาคบังคับสำหรับมนุษย์เงินเดือนทุกคนพื่อให้ประชากรของประเทศ มีความมั่นคงของชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว ซึ่งจะเห็นได้จากชาวต่างชาติที่มาเที่ยวเมืองไทยที่เป็นคนสูงอายุ มักมีฐานะที่ร่ำรวย อย่างน้อยที่สุด ประชากรในประเทศที่เป็นสังคมเมืองควรมีเงินบำนาญไว้ใช้จ่ายอย่างน้อยร้อยละ 50 ของเงินเดือนสุดท้ายที่ได้รับ จึงจะมีความมั่นคง

ในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยก็มีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสังคมเมืองบ้างแล้ว เหมือนกัน ลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคม ถ้าจ่ายเงินสมทบเป็นเวลานานติดต่อกันเกิน 15 ปี เมื่ออายุครบ 55 ปี ก็จะได้รับสิทธิประกันสังคมกรณีชราภาพเท่ากับร้อยละ 15 ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย แต่เงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ว่านี้ จะนับเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เท่านั้น ซึ่งก็หมายความว่า เงินประกันสังคมกรณีชราภาพสูงสุดที่จะได้รับจะไม่เกินเดือนละ 2,250 บาท เท่านั้น ซึ่งก็นับว่าไม่เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมเมืองอย่างแน่นอน คนที่โชคดีขึ้นมาหน่อยก็คือคนที่เป็นข้าราชการภายใต้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้า ราชการ เพราะจได้รับเงินบำนาญสูงสุดร้อยละ 60 ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย หรือลูกจ้างในบริษัทเอกชนที่บริษัทมีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ก็อาจ จะได้รับผลตอบแทนเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณตามกติกาที่กองทุนเหล่านั้นกำหนด แต่ก็นับว่าเป็นคนส่วนน้อยของประเทศ

โดยรวมแล้ว ลูกจ้างส่วนใหญ่ในปัจจุบันซึ่งอยู่ในข่ายที่จะเกษียณอายุในอีก 15-30 ปีข้างหน้า ยังขาดหลักประกันในวัยเกษียณอยู่ ซึ่งที่จริงแล้วภาครัฐเองก็มีความคิดที่จะจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่ง ชาติเพื่อให้ลูกจ้างมีเงินไว้ใช้ในยามเกษียณอย่างน้อยร้อยละ 50 ของเงินเดือนเดือนสุดท้ายมานานแล้ว แต่กองทุนนี้ก็ยังตั้งไม่ได้สักที ซึ่งอาจเป็นเพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของประเทศไทยไม่ดีนัก ซึ่งถ้าอยู่ดีๆจะมีการบังคับให้ทุกคนกักเงินเดือนของตัวเองเข้ากองทุนอีก ประชาชนก็คงจะไม่พอใจนัก แผนการตั้งกองทุนจึงถูกเลื่อนออกไปเรื่อยๆ อยากจะบอกพวกเราทุกคนที่อยู่ในวัยทำงานว่าคนรุ่นแรกที่จะไม่หลักประกันในวัย เกษียณก็คือพวกเราเองนี่แหละ เพราะฉะนั้นพวกเราทุกคนจึงมีหน้าที่ต้องออมเงินเพื่อวัยเกษียณด้วยตัวเอง สังคมไทยในช่วง 15-20 ปีข้างหน้าจะมีความแตกต่างไปจากเวลานี้ค่อนข้างมาก การที่จะไปหวังให้ลูกหลานของตนเลี้ยงเหมือนคนรุ่นก่อน ก็คงเป็นเรื่องยาก ในวันนี้ ถ้าใครยังไม่ได้เริ่มต้นออมเงินเพื่อวัยเกษียณ ก็ควรจะเริ่มตั้งแต่ตอนนี้ เป็นต้นไป เพราะการออมเงินเพื่อวัยเกษียณนั้นจะต้องใช้เวลาในการออมอย่างน้อย 15 ปี เพื่อให้เงินออมได้มีเวลาสำหรับการสร้างผลตอบแทนแบบทบต้นอย่างมีนัยสำคัญ การออมเป็นเรื่องของระยะเวลา ยิ่งออมนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งสบายตอนแก่มากขึ้นเท่านั้น

การออมเป็นระยะเวลานานอย่างการออมเพื่อวัยเกษียณนั้น เมื่อถึงเวลาที่จะนำเงินออมนั้นมาใช้ อำนาจซื้อของเงินออมนั้นก็มักจะลดลงไปจากเดิมมากเนื่องจากอิทธิพลของเงิน เฟ้อในระยะยาว ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ในระยะเวลา 20 ปี เงินเฟ้อจะทำให้อำนาจซื้อลดลงไปถึง 60 % เลยทีเดียว ดังนั้น เคล็ดลับในการออมเงินเพื่อวันเกษียณก็คือการนำเงินออมส่วนหนึ่งไปลงทุนใน ตลาดหุ้น ในระยะสั้น การออมเงินไว้ในตลาดหุ้นจะมีความผันผวนสูง แต่ในระยะยาวแล้ว การออมเงินไว้ในตลาดหุ้นเป็นวิธีการเดียวที่จะทำให้อำนาจซื้อของเงินยังคง อยู่ได้ ถ้าคุณมีเวลาการออมเพื่อวัยเกษียณมากกว่าสิบห้าปีขึ้นไป การออมเงินส่วนหนึ่งไว้ในตลาดหุ้นก็ถือว่าเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ดี เมื่อเริ่มเข้าวัยเกษียณแล้ว จึงค่อยทยอยโยกเงินออมนั้นออกจากตลาดหุ้นมาลงทุนในตราสารที่มีความมั่นคงแล ปลอดภัยกว่า เช่น พันธบัตรหรือเงินฝากธนาคาร เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น